เมนู

สัญญาอย่างนี้... สังขารอย่างนี้... วิญญาณอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้ จะครอบงำ
กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชาทุกอย่างได้ จะถอนอัสมิมานะ
ทั้งหมดขึ้นได้.
จบ สัญญาสูตรที่ 10
จบ ปุปผวรรคที่ 5


อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนิจฺจสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ภาวนา
อยู่ว่า ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง.
บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ จักทำให้ (กามราคะ) ทั้งหมดสิ้นไป
บทว่า สพฺพํ อสฺมิมานํ ได้แก่ อัสมิมานะทั้ง 9 อย่าง.
บทว่า มูลสนฺตานกานิ ได้แก่ รากไม้ที่แตกยื่นออกไป.
ก็ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนไถใหญ่.
กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนรากไม้ที่แตกออกไปทั้งเล็กทั้งใหญ่
พระโยคีผู้เจริญอนิจจสัญญาทำลายกิเลสได้ด้วยญาณอันเกิดจาก
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนชาวนาไถนาทำลายรากไม้เหล่านั้นได้ด้วยไถ.
บทว่า โอธุนาติ แปลว่า ดาย (กำจัดข้างล่าง)

บทว่า นิธุนาติ แปลว่า ฟาด.
บทว่า นิปฺโผเฏติ แปลว่า สลัดทิ้ง.
แม้ในที่นี้ พึงอุปมาเปรียบเทียบด้วยอรรถนี้ว่า อาลัยคือกิเลส
เปรียบเหมือนหญ้าปล้อง ญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา เปรียบเหมือน
การสลัดทิ้ง.
บทว่า วณฺฑจฺฉินฺนาย ความว่า (พวงมะม่วง) ขั้วขาดเพราะ
ลูกธนูอันคม.
บทว่า ตนฺวยานิ ภวนฺติ ความว่า (มะม่วงลูกอื่น ๆ) ย่อมตก
ตามพวงมะม่วงพวงนั้น. เมื่อมะม่วงพวงนั้นตก มะม่วง (ลูกอื่น) ก็พลอย
ตกลงพื้นดินด้วย.
แม้ในที่นี้ มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ว่า :-
กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวงมะม่วง
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนลูกธนูอันคม

เมื่ออวิชชาที่เป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไปด้วย
ญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา กิเลสทั้งหมดก็พลอยถูกถอน (ถูกตัด)
ไปด้วย เปรียบเหมือนเมื่อพวงมะม่วงถูกตัดไปด้วยคมธนู มะม่วงทั้งหมด
(ในก้านเดียวกัน) ก็พลอยหล่นลงพื้นไปด้วย.
บทว่า กูฏงฺคมา แปลว่า (กลอนทั้งหลาย) ไปถึงยอดเรือน.
บทว่า กูฏนินฺนา แปลว่า ชอนเข้าไปในยอดเรือน โดยสอดเข้าไป
สู่ยอดเรือน.
บทว่า กูฏสโมสรณา แปลว่า รวมลงอยู่ที่ยอดเรือน.
ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ว่า :-

อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนยอดเรือน.
กุศลธรรมที่เป็นไปภูมิ 4 เปรียบเหมือนกลอนเรือน.
อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือน
ยอดแห่งกลอนทั้งหมด เป็นยอดของกูฏาคาร.
ถามว่า ก็อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะ (เท่านั้น)
มิใช่หรือ ? (แล้ว) กลับมาเป็นยอดของโลกุตตรธรรมได้อย่างไร ?

ตอบว่า อนิจจสัญญาพึงทราบว่า เป็นยอด (ของโลกุตตรธรรม
ทั้งหลาย) เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ไดโลกุตตรธรรมแม้เหล่านั้น.
พึงทราบข้ออุปมาเปรียบเทียบในอุปมาทั้งหมดโดยอุบายนี้
ก็ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกิจของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา
3 ข้อแรก ตรัสพลังของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา 3 ข้อหลังแล.
จบ อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 10
จบ อรรถกถาปุปผวรรคที่ 5
จบ มัชฌิมปัณณาสก์


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ


1. นทีสูตร 2. ปุปผสูตร 3. เผณปิณฑสูตร 4. โคมยสูตร
5. นขสิขาสูตร 6. สามุททกสูตร 7. คัททูลสูตรที่ 1 8. คัททูลสูตรที่ 2
9. นาวาสูตร 10. สัญญาสูตร.